วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558


กระถินณรงค์







ชื่อที่เรียก :  กระถินณรงค์

ชื่ออื่นๆ   :  กระถินป่าหรือ กระถินแดง

หมวดหมูทรัพยากร  :  ยังไม่ได้ระบุ


ลักษณะ

    กระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis Cunn.) จัดเป็นไม้ที่โตเร็วชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Leguminosaeซึ่งจัดว่าเป็นพืชตระกูลถั่ว กระถินณรงค์เป็นพันธุ์ไม้ต่างประทศ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมตามธรรมชาติในทุ่งหญ้าของประเทศปาปัวนิวกินี ไปจนถึงพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกกันทั่วโลกทั้งทวีปเอเซีย อัฟริกา และอเมริกาใต้ เนื่องจากไม้กระถินณรงค์สามารถฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมได้ ในประเทศไทย เชื่อกันว่า ร.ท.ธนณรงค์ ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ) เป็นผู้สั่งเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดยนำมาปลูกในลักษณะของไม้ประดับ เนื่องจากระถินณรงค์เป็นไม้ที่ปลูกง่าย สามารถขึ้นได้ในแทบทุกสภาพท้องที่ของประเทศไทยจึงมีผู้นำไปปลูกตามท้องที่ต่างๆ เรามักจะพบเห็นต้นกระถินณรงค์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นับตั้งแต่นำไปทำฟืน เชื้อเพลิงหรือเผาถ่าน ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ก็ได้กระถินณรงค์ เป็นไม้ที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางมีความสูง 8 เมตร ไปจนถึง 20 เมตรขึ้นอยู่กับสภาท้องที่และสภาพภูมิอากาศมีกิ่งก้านสาขามาก ในสภาพพื้นที่แล้งจะมีลำต้นคดงอแตกกิ่งก้านมาก แต่ในสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมจะมีลำต้นเปลาตรงมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 80 ซม. และความสูงถึง
30 เมตร กระถินณรงค์เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ผลัดใบจึงเห็นใบเขียวชอุ่มอยู่ตลอดปี มีใบเป็นพุ่มหนา เรือนยอดแผ่กว้าง แตกกิ่งก้านสาขามาก และมักแตกกิ่งที่ส่วนล่างลำต้น ดอกของกระถินณรงค์มีกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่ม และไม้ประดับตามที่ชุมชนสาธารณะ แต่ถ้าได้มีการคัดเลือกพันธุ์ที่มีลักษณะดีมาปลูกก็จะสามารถปลูกกระถินณรงค์เป็นสวนป่าเพื่อการใช้ประโยชน์เนื้อไม้แปรรูปได้


ประโยชน์

1.การใช้เป็นเชื้อเพลิง
           กระถินณรงค์ให้เนื้อไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะที่จะใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ดีมาก เพราะให้ความร้อนสูง ถ้านำไปเผาถ่านจะได้ถ่านที่มีคุณภาพดี ถ่านที่ได้จากไม้กระถินณรงค์เมื่อนำไปใช้จะไม่แตก ไม่มีควัน และติดไฟได้ดี กระถินณรงค์จึงเป็นไม้ที่เหมาะสำหรับการปลูกเป็นป่าฟืนเพื่อใช้สอยในครัวเรือนได้

2.การใช้ไม้กระถินณรงค์ทำเครื่องเรือนและก่อสร้าง
            กระถินณรงค์เป็นไม้ที่มีแก่น เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนความแข็งแรงปานกลาง นำมาเลื่อยตบแต่งได้ง่ายและมีการยึดหดตัวน้อยมาก เหมาะที่จะนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และพื้นปาร์เก้ถึงแม้ว่ากระถินณรงค์โดยทั่วๆ ไปจะไม่ค่อยตรงเปลา แต่สามารถนำมาใช้ทำพื้นปาร์เก้ได้เพราะการทำไม้ปาร์เก้ใช้ไม้ขนาดสั้น

3.การใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
           ปัจจุบันประเทศไทยต้องสั่งซื้อเยื่อกระดาษจากต่างประเทศปีหนึ่งๆ คิดเป็นเงินจำนวนมากมาย เนื่องจากเรายังมีโรงงานผลิตเยื่อกระดาษไม่พอกับความต้องการใช้เยื่อกระดาษภายในประเทศ ในอนาคตเมื่อได้มีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตเยื่อกระดาษขึ้นอีก กระถินณรงค์ก็สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้ เพราะเยื่อกระดาษที่ได้จากไม้กระถินณรงค์มีความเหนียวดีพอสมควร

4.การใช้ประโยชน์ในการฟอกหนัง
              เปลือกของต้นกระถินณรงค์ให้น้ำฝาดที่ละลายน้ำได้ในการฟอกหนังสัตว์ ถ้าใช้สารเทนนินจากเปลือกต้นกระถินณรงค์ที่มีอัตราความเข้มข้น 13 เปอร์เซ็นต์ จะได้หนังฟอกที่มีคุณภาพดีแต่หนังที่ได้จะมีสีค่อนข้างแดง

5.การปลูกกระถินณรงค์เพื่อปรับปรุงสภาพดินเลว
              การที่กระถินณรงค์เป็นพืชตระกูลถั่ว สามารถปลูกได้ในสภาพดินเลวและมีการเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นในพื้นที่ที่ว่างเปล่าที่ปลูกพืชไม่ได้ผล เช่น พื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองมาแล้วควรปลูกกระถินณรงค์ให้ปกคลุมพื้นที่ฟื้นฟูสภาพดินให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการปลูกสวนป่าเพื่อใช้ประโยชน์จากไม้กระถินณรงค์ได้ด้วย

6.ประโยชน์อื่นๆ
         นอกจากประโยชน์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นกระถินณรงค์ยังมีประโยชน์ในด้านความสวยงาม ปลูกไว้ให้ร่มเงาตามที่สาธารณะ หรือตามถนนหนทาง ในสวนป่ากระถินณรงค์จะพบเห็ดชนิดหนึ่งเกิดอยู่ใต้ต้นกระถินณรงค์ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป เพราะกระถินณรงค์มีเรือนยอดแผ่กว้างและหนาทึบทำให้เกิดความชุ่มชื้นมากในช่วงฤดูฝน ทำให้เกิดสภาพเหมาะสมที่จะเกิดเห็ดดังกล่าว เห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดชนิดเดียวกับเห็ดเสม็ด มีสีม่วงอ่อนซึ่งเกิดในป่าเสม็ดสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารได้


แหล่งที่พบ : โรงเรียนบ้านบึง
ตำบล  : บ้านบึง
อำเภอ : บ้านบึง
จังหวัด : ชลบุรี
ฤดูกาลใช้ประโยชน์:  ร้อน
ศักยภาพการใช้งาน  : ตกแต่งบ้านเรือนและอาศัยเป็นที่ร่ม
ชื่อสามัญ  : Wattle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia auriculaeformis , Cunn.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae Mimosoideae
แหล่งที่มาของข้อมูล : หนังสือพฤกษาพัน




  

ใบ




ฝัก



         
ลำต้น



ดอก 




เมล็ด 


                       

ขอขอบคุณแหล่งที่มา:http://www.biogang.net/biodiversity_view.php?menu=biodiversity&uid=2436&id=10028